เมื่อเร็วๆนี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยยูทาห์ ในสหรัฐอเมริกา พบว่าเส้นผมของคนกำลังสร้างสถิติการกินอาหาร เนื่องจากเส้นผมถูกสร้างขึ้นจากกรดอะมิโนที่มาจากอาหารที่เรากินเข้าไป จึงเก็บรักษาร่องรอยทางเคมีของโปรตีน ในอาหารนั้นไว้ นี่อาจเป็นบันทึกข้อมูลที่ชัดเจนพอที่จะแสดงได้ว่าคนคนนั้นชอบอาหารแบบไหน
ตัวอย่างเช่นข้าวโพดจัดอยู่ในกลุ่มพืช C4 หรือพืชในเขตร้อนรวมถึงอ้อย จะมีการสังเคราะห์แสงแตกต่างจากพืช C3 คือกลุ่มพืชตระกูลถั่วและพืชผักทั่วไป ดังนั้น หากกินโปรตีนที่มาจากสัตว์ที่กินข้าวโพด กรดอะมิโนที่เป็นส่วนประกอบของเส้นผมจะมีอัตราส่วนไอโซโทปเหมือนข้าวโพดมากกว่า แต่หากโปรตีนที่กินมาจากแหล่งพืชหรือมาจากสัตว์ที่กินพืช C3 เส้นผมก็จะมีร่องรอยของไอโซโทปเหมือนกับพืช C3 การบันทึกข้อมูลโดยเส้นผมยังบ่งชี้ถึงความแตกต่างของอาหารตามฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะช่วยประเมินอาหารในชุมชนและความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชากร อีกทั้งยังใช้ข้อมูลนี้หาปริมาณและแนวโน้มการบริโภคอาหารในขณะที่แบบสำรวจไม่อาจยืนยันด้วยภาพ
จริงๆแล้วการหาร่องรอยของอาหารโดยใช้เบาะแสจากไอโซโทป ซึ่งเป็นความแตกต่างขององค์ประกอบทางเคมีที่เฉพาะเจาะจงของธาตุนั้นๆ แต่แตกต่างกันในจำนวนนิวตรอน เคยมีการคิดค้นมานานแล้ว นักวิจัยอธิบายว่าแหล่งอาหารที่แตกต่างกัน จะมีอัตราส่วนของไอโซโทปเสถียรต่างกัน เมื่ออาหารแตกตัวเป็นกรดอะมิโน ไอโซโทปที่มีอยู่ในอาหารไม่ว่าจะเป็นคาร์บอนและไนโตรเจน สิ่งเหล่านี้จะหาทางเข้าไปในทุกส่วน ของร่างกายรวมถึงเส้นผมด้วย ทั้งนี้ นักวิจัยเผยว่า อยากเห็นหน่วยงานสาธารณสุขเริ่มประเมินรูปแบบการบริโภคอาหารโดยใช้การสำรวจไอโซโทปของเส้นผม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเศรษฐกิจต่างๆ ภายในสหรัฐอเมริกา.
(ภาพจาก : Unsplash/CC0 Public Domain)
อ่านเพิ่มเติม...
"กิน" - Google News
August 13, 2020 at 08:01AM
https://ift.tt/3izV5Cz
เส้นผมสามารถรู้ถึงอาหารที่กินเข้าไป - ไทยรัฐ
"กิน" - Google News
https://ift.tt/2YKxNmY
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/35PjoHG
Bagikan Berita Ini
0 Response to "เส้นผมสามารถรู้ถึงอาหารที่กินเข้าไป - ไทยรัฐ"
Post a Comment