Search

กินข้าวเกลี้ยงจาน อีกหนึ่งทางรอดจากวิกฤติขยะอาหารของจีน - ไทยรัฐ

hota.prelol.com

ส่วนในปี 2013 จีนเคยรณรงค์ปฏิบัติการเกลี้ยงจานในลักษณะนี้มาแล้ว โดยมุ่งเป้าไปที่งานจัดเลี้ยงหรู และงานเลี้ยงรับรองที่จัดขึ้นโดยทางการ ซึ่งมักจะเหลือทิ้งอาหารจำนวนมาก แต่ไม่ได้เน้นให้เป็นเรื่องสำคัญของประชาชนคนทั่วไป

ปี 2016 จีนได้เริ่มบังคับใช้กฎหมายการจัดการขยะ เพื่อให้การจัดการขยะเป็นไปอย่างโปร่งใส ป้องกันการทิ้งขยะผิดกฎหมาย และสนับสนุนการรีไซเคิลและรียูสขยะ รวมถึงการนำขยะอาหารมาย่อยสลายให้กลายไปเป็นก๊าซชีวภาพและนำไปแปลงให้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายเมืองในจีนที่ทดลองทำก๊าซชีวภาพจากขยะอาหาร เพื่อแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า และนำไปใช้เป็นส่วนผสมของปุ๋ยหมัก

และเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2019 นครเซี่ยงไฮ้ เมืองที่มีประชาชนมากที่สุดในโลก ได้บังคับกฎเข้มงวดต่อทั้งบุคคลและบริษัทต่างๆ ในการนำอาหารเหลือทิ้งมารีไซเคิล โดยหากฝ่าฝืนประชาชนจะต้องถูกปรับหรือลงโทษ รวมทั้งอาจจะถูกหักแต้มทางสังคม จากนั้นเมืองอื่นๆ ก็เริ่มนำมาตรการของเซี่ยงไฮ้ไปเป็นโมเดลบังคับใช้ตาม

ความรุนแรงของปัญหาอาหารขยะในจีน

จากข้อมูลในปี 2019 พบว่ามีผลิตภัณฑ์อาหารมากถึง 6 เปอร์เซ็นต์ หรือราว 35 ล้านกิโลกรัม ที่ต้องกลายเป็นขยะไปก่อนที่จะถึงมือผู้บริโภค ทั้งในกระบวนการเก็บรักษาในครัวเรือน ในคลังสินค้า การขนส่ง และแม้แต่ในกระบวนการผลิต


โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ พบว่า อาหารต้องกลายมาเป็นขยะในขั้นตอนเก็บเกี่ยวมากถึง 10% และขั้นตอนการเก็บวัตถุดิบในฟาร์มอีก 8% โดยมีผลผลิตทางการเกษตรถึงมากกว่า 20,000 ล้านกิโลกรัม ที่ต้องเน่าเสียจากการเก็บรักษาที่ไม่ดี โดยอาจจะถูกแมลง เชื้อรา หรือนกกัดกิน ขณะที่เมล็ดพืชมากกว่า 7,500 ล้านกิโลกรัมต้องเสียหายไปต่อปี เพราะสภาพโกดังที่เก่าและไม่ได้มาตรฐาน

ส่วนในขั้นตอนการขนส่ง การสูญเสียอาหารมักเกิดจากผู้ขนส่งไม่มีความเชี่ยวชาญ ทำให้เมล็ดพันธุ์พืชราว 1 ใน 4 ต้องสูญหายไประหว่างทาง โดยประมาณการว่าในแต่ละปีจะมีเมล็ดข้าว หรือเมล็ดพืช มากกว่า 30,000 ล้านตัน ต้องเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ส่วนในขั้นตอนการผลิต จะมีความสูญเสียเมล็ดพันธุ์จำพวกข้าวไปอีกมากกว่า 7,500 ล้านกิโลกรัมต่อปี

นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่ากว่า 500 เมืองในจีน ทำให้เกิดขยะอาหารเฉลี่ย 50 ตันต่อวัน ส่วนในเมืองใหญ่อย่างเซี่ยงไฮ้ และปักกิ่ง มีขยะอาหารมากถึง 1,000-2,000 ตันต่อวัน

ขณะที่รายงานจากสถาบันวิจัยด้านภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน ระบุว่า จีนมีอาหารขยะเหลือทิ้งราว 17-18 ล้านตัน โดยมีการคำนวณว่าอาหารเหลือทิ้งของจีน มีปริมาณมากมาย ถึงขนาดที่สามารถนำไปเลี้ยงคนได้มากถึง 30-50 ล้านคนต่อปี หรือเพียงพอที่จะเลี้ยงประชากรเกาหลีใต้ได้เลยทีเดียว

การจัดการกับขยะอาหารในจีน

เมืองต่างๆ ในจีนสร้างขยะที่เป็นของแข็งคิดเป็น 25% ของขยะทั่วโลก โดยส่วนใหญ่เป็นขยะประเภทอาหาร ทำให้ต้องมีการจัดการกับขยะอาหารด้วยการถม หรือเผา โดยพบว่าในปี 2017 พื้นที่ทิ้งขยะต้องรับปริมาณขยะจากครัวเรือนมากกว่า 152 เมตริกเมกะตัน ส่วนใหญ่เป็นขยะออร์แกนิก หรือขยะจากผลผลิตทางการเกษตร จนทำให้พื้นที่ทิ้งขยะที่มีมากกว่า 2,000 แห่งในจีนเกือบจะเต็มทุกพื้นที่ หลายเมืองจึงเปลี่ยนวิธีกำจัดขยะ มาใช้เตาเผานับตั้งแต่ปี 2010 จนทำให้เตาเผาเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าในช่วงที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม การกำจัดของเสียจำพวกอาหารสดที่มีความชื้นด้วยการเผา ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และกลายเป็นปัญหาที่สร้างความกดดันให้แก่ประเทศที่มีทรัพยากรน้ำ พลังงาน และพื้นที่ที่จำกัด ขณะที่การหมักหมมของขยะมหาศาลทำให้เกิดก๊าซมีเทนจำนวนมาก โดยทุกๆ 1 กิโลกรัมของขยะ จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณที่เท่ากันออกมา ส่งผลกระทบอย่างยิ่งกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งหากเปรียบขยะอาหารเป็นประเทศหนึ่ง ในเชิงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  ขยะอาหารจะถือเป็นประเทศอันดับที่ 3 รองจากสหรัฐอเมริกาและจีนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมามากที่สุด


ปัญหาขยะอาหาร ปัญหาระดับโลก

ปัญหา “ขยะอาหาร” ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นหนึ่งในวาระของโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างในเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน 1 ใน 17 ข้อของยูเอ็น ได้ตั้งเป้าในการลดขยะอาหารลงในทุกขั้นตอนให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 โดยมีคำแนะนำไปถึงผู้วางนโยบายของทุกประเทศให้พิจารณาว่าการลดความสูญเสียของอาหารโดยไร้ค่า นับเป็นการเพิ่มผลผลิตด้วยอีกทาง

ขณะที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ระบุว่าทุกประเทศควรให้ความสำคัญกับการป้องกันการสูญเสียอาหาร จนกลายเป็นขยะโดยไม่จำเป็น มากกว่าที่จะวางนโยบายเพื่อประกันราคาสินค้าการเกษตรเท่านั้น โดยอาจจะมีการออกกฎหมายด้านอาหารเพื่อบังคับใช้เป็นวงกว้าง มีการปรับเงินหรือมีบทลงโทษ สำหรับการสูญเสียอาหารโดยเปล่าประโยชน์ รวมทั้งสนับสนุนการลงทุนเพื่อลดปริมาณอาหารขยะจากการจัดเก็บ เช่น การลงทุนสร้างโกดังแห่งใหม่ หรือมีกองทุนพิเศษเพื่อสนับสนุน การขนส่งอาหาร และเทคโนโลยีการผลิตอาหารให้มีขยะอาหารให้น้อยที่สุด ซึ่งหากจะแก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรม แต่ละประเทศจะต้องตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจนตั้งแต่ปีนี้ และประเมินผลลัพธ์ในปี 2025 เพื่อดูว่าสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายได้มากน้อยเพียงใด ขณะที่ภาครัฐต้องสร้างความตระหนักรู้ของประชาชน ให้มองเห็นปัญหาขยะอาหารในภาพรวม ไม่ใช่การมองขยะอาหารเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยในครัวเรือน เพื่อให้ทุกภาคส่วนมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จได้ไม่ยาก.

ผู้เขียน อาจุมม่าโอปอล

ที่มา : บีบีซี, อัลจาซีร่า, เอิร์ทดอทโออาร์จี

Let's block ads! (Why?)



"กิน" - Google News
August 25, 2020 at 07:00AM
https://ift.tt/32r1cCG

กินข้าวเกลี้ยงจาน อีกหนึ่งทางรอดจากวิกฤติขยะอาหารของจีน - ไทยรัฐ
"กิน" - Google News
https://ift.tt/2YKxNmY
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/35PjoHG

Bagikan Berita Ini

0 Response to "กินข้าวเกลี้ยงจาน อีกหนึ่งทางรอดจากวิกฤติขยะอาหารของจีน - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.