Search

กระแส Food Security... นัยต่อการส่งออกและการลงทุนของไทย - ประชาชาติธุรกิจ

hota.prelol.com
Food Security
คอลัมน์ เลียบรั้วเลาะโลก
ขวัญใจ เตชเสนสกุล EXIM BANK

ความมั่นคงทางอาหาร (food security) กลายเป็นประเด็นที่กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง ภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้ภาคการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงอุตสาหกรรมอาหารหยุดชะงักลง ขณะที่การเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรในหลายพื้นที่ทั่วโลกถูกเลื่อนออกไปจากมาตรการ lockdown เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ขณะเดียวกันยังถูกซ้ำเติมจากภัยธรรมชาติที่กำลังเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก อาทิ อุทกภัยครั้งใหญ่ในจีนและบังกลาเทศที่ทำลายพืชผลทางการเกษตรจำนวนมาก ทำให้ล่าสุดองค์การสหประชาชาติ (UN) ออกมาเตือนว่าโลกกำลังเผชิญความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะวิกฤตด้านอาหาร (global food crisis)

ทั้งนี้ global food crisis เคยเกิดขึ้นแล้วหลายครั้ง ล่าสุดในปี 2550-2551 ซึ่งในครั้งนั้นมีต้นตอมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วสู่ระดับสูงสุดที่ราว 150 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในเดือนกรกฎาคม 2551 ก่อให้เกิดกระแสการเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกพืชอาหารไปสู่การเพาะปลูกพืชพลังงาน จนทำให้เกิดการขาดแคลนพืชอาหารทั่วโลก ส่งผลให้ราคาอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ที่ราคาเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในปี 2551

global food crisis ในปี 2550-2551 ได้ก่อให้เกิดความตื่นตัวด้านนโยบายและจุดกระแส food security ในเกือบทุกประเทศ จนส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเกษตรและอาหารทั่วโลกรวมถึงไทยทั้งในมิติด้านการค้าและการลงทุน โดยในมิติด้านการค้าหลายประเทศ อาทิ อินเดีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ รวมถึงประเทศส่วนใหญ่ในแอฟริกาและละตินอเมริกาได้หันมาใช้นโยบายลด/ยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร ตลอดจนเร่งนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนและสร้างสต๊อกอาหารภายในประเทศ ส่งผลให้มูลค่านำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้งโลกในปี 2550-2551 ขยายตัว 21% และ 23% ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทยในช่วงเวลาเดียวกันขยายตัว 21% และ 32%

มิติด้านการลงทุน หลังวิกฤตอาหารในปี 2550-2551 เริ่มคลี่คลายลง ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้หันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนและพัฒนาภาคเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารในประเทศในระยะยาว โดยเฉพาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีปัญหาด้าน food security ต่างใช้นโยบายดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารจากต่างประเทศ ทั้งการลดอุปสรรคการลงทุน รวมถึงการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีต่าง ๆ เพื่อเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารในประเทศ ส่งผลให้หลังจากวิกฤต global food crisis สิ้นสุดลง เม็ดเงิน FDI ในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2552 เป็น 59,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2556 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราว 340% ต่อปี ขณะเดียวกัน ในช่วงเวลาดังกล่าว การลงทุนของไทยในต่างประเทศ ในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากที่มีมูลค่า 153 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2552 เป็น 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2556

เป็นที่คาดว่า global food crisis และกระแส food security ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยในระยะสั้นไทยน่าจะได้ประโยชน์จากการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร จากการที่หลายประเทศเริ่มใช้นโยบายลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้งมีการเร่งนำเข้าอาหารเพื่อป้องกันการขาดแคลน อาทิ จีน สิงคโปร์ และสวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ไทยมีศักยภาพ อาทิ ผลไม้ อาหารทะเลกระป๋อง ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง เครื่องปรุงรส เป็นต้น โดยช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 มูลค่าส่งออกสินค้าดังกล่าวขยายตัวในระดับสูงสวนทางกับมูลค่าส่งออกรวมของไทยที่หดตัว

global food crisis ในรอบนี้ น่าจะทำให้หลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาต้องเร่งพัฒนาภาคเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารในประเทศ ซึ่งถือเป็นโอกาสสำคัญของผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพในการออกไปแสวงหาโอกาสและลู่ทางการลงทุนในต่างประเทศ

Let's block ads! (Why?)



"อาหาร" - Google News
August 29, 2020 at 07:45AM
https://ift.tt/2EtELFj

กระแส Food Security... นัยต่อการส่งออกและการลงทุนของไทย - ประชาชาติธุรกิจ
"อาหาร" - Google News
https://ift.tt/3bODzqM
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/35PjoHG

Bagikan Berita Ini

0 Response to "กระแส Food Security... นัยต่อการส่งออกและการลงทุนของไทย - ประชาชาติธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.