27 สิงหาคม 2563
8
โลกกำลังกังวลกับขยะอาหารที่เพิ่มการจากการบริโภคของมนุษย์ และเพิ่มความรุนแรงของปัญหาสิ่งแวดล้อม
จากตัวเลขขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO (Food and Agriculture Organization of the United Nations) แจงตัวเลขการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร ( Food Loss Food Waste) ที่ผลิตเพื่อการบริโภคบนโลกใบนี้สูงถึง 30% เท่ากับ 1,300 ล้านตันอาหาร หรือคิดเป็นมูลค่าการสูญเสียทางเศรษฐกิจประมาณ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในจำนวนนี้เป็นมูลค่าสูญเสียทางสิ่งแวดล้อม 700,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และผลกระทบต่อสังคม 900,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่กรมควบคุมมลพิษ มีรายงานว่าไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยกว่า 26.07 ล้านตันต่อวัน ในจำนวนนี้เป็นขยะอาหารมากถึง 64%
สาเหตุหลักของการสูญเสียอาหารและขยะอาหารมาจาก 2 แหล่งสำคัญ คือ อุตสาหกรรมอาหารและการบริโภคของมนุษย์ โดยอุตสาหกรรมอาหารมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการบริหารจัดการการสูญเสีย (Food Loss) ในกระบวนผลิต เพื่อลดต้นทุนการผลิตและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ส่วนผู้บริโภคยังตระหนักไม่มากนักเรื่องการบริโภคอย่างคุ้มค่าเพื่อลดขยะอาหาร (Food Waste) ยังมีการซื้ออาหารเกินความต้องการหรือซื้อจากกลยุทธการตลาด ลด แลก แจก แถม
คนไทยควรใช้วิกฤตโควิด-19 เป็นจุดเริ่มต้นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพื่อลดปัญหาขยะอาหาร ด้วยการ ซื้อตามความต้องการบริโภคของร่างกายและเพียงพอต่อการบริโภคในแต่ละมื้อ โดยไม่กินให้เหลือทิ้งเพื่อ
สนับสนุนความมั่นคงทางอาหาร ขณะเดียวกันร่วมแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่าและการขาดแคลนอาหาร
ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมอาหารของไทยมีการจัดการการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิตอย่างเป็นระบบ ตามวิถีโลก คือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals : UN SDGs) ข้อที่ 12 ที่ส่งเสริมการมีแบบแผนการผลิตและการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงอาหารและบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ภาคเอกชนจึงเป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญ ด้วยตระหนักดีว่าหากปล่อยให้เกิดสูญเสียอาหารในห่วงโซ่การผลิตและขยะอาหารต่อไปเรื่อยๆ อาหารที่ผลิตได้คงไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้คนในอนาคต
บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มุ่งมั่นลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากขยะอาหาร โดยมีเป้าหมายลดปริมาณขยะอาหาร ภายในกระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ให้เป็นศูนย์ (Zero Food Waste) ภายในปี 2573 ขณะเดียวกัน ยังสามารถลดการสูญเสียอาหาร ในห่วงโซ่อุปทานได้อย่างเป็นรูปธรรม จากการดำเนินโครงการหลายรูปแบบ เช่น ร่วมมือกับ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส์ จำกัด (มหาชน) ส่งเสริมเกษตรกรลดการสูญเสียระหว่างการเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว ในห่วงโซ่อุปทานการผลิตข้าวโพด การสร้างมูลค่าเพิ่ม (creation waste value) ให้กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลพลอยได้ (Co-product) เช่น ลูกชิ้นเป็ด เลือดหมูก้อนปรุงรสพาสเจอร์ไรซ์ ซึ่งช่วยยืนอายุการเก็บในช่องแช่แข็งได้นานถึง 25 วัน ซึ่งผลิตตามมาตรฐานอาหารสากลมีคุณค่าทางโภชนาการปลอดภัย รสชาติอร่อย สะดวกในการปรุง ตลอดจนใช้ผลิตอาหารสัตว์ เป็นต้น
การผลักดันให้เกิดการบริโภคที่ยั่งยืน เพื่อลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร ถือเป็นความรับผิดชอบของทุกภาคส่วน ทั้งระดับตัวบุคคล องค์กร และสังคมส่วนรวมต้องช่วยกัน เพราะ1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตจากทั่วโลก ถูกทิ้งทำลายโดยไม่เกิดประโยชน์ใดๆ และก่อให้เกิดปัญหาก๊าซเรือนกระจก จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่ดีตลอดห่วงโซ่อุตสาหกรรมอาหารถึงผู้บริโภค ในการใช้ทรัพยกรของโลกที่มีจำกัดให้เกิดมีประสิทธิภาพสูงสุด และนำไปสู่กระบวนการแบ่งปันในรูปของ food surplus ต่อไป
"กิน" - Google News
August 27, 2020 at 04:33AM
https://ift.tt/32sqrEX
ไทยวิถีใหม่ กินแค่อิ่ม ซื้อแค่พอเพียง | ทัศนะจากผู้อ่าน - กรุงเทพธุรกิจ
"กิน" - Google News
https://ift.tt/2YKxNmY
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/35PjoHG
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ไทยวิถีใหม่ กินแค่อิ่ม ซื้อแค่พอเพียง | ทัศนะจากผู้อ่าน - กรุงเทพธุรกิจ"
Post a Comment