เมื่อผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ “หนูดี-วนิษา เรซ (noodi_vanessa)” เจ้าของเฟซบุ๊ก "อัจริยะสร้างได้" ดีกรีปริญญาโทด้านสมอง จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หญิงสาวผู้รักการดูแลสุขภาพ ที่หันมาเน้นการรับประทานอาหารที่ปลอดภัยแบบใกล้ชิดธรรมชาติ ที่เรียกกันว่า แพลนต์เบสต์ จึงทำอาหารทานเองเสมอๆ แถมเธอยังปลูกผักสวนครัวไว้ที่บ้านเองอีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้นเธอยังแบ่งปันความรู้ในเรื่องของการปลูกผัก ทำอาหารแพลนต์เบสต์แบบง่ายๆ หรือแม้กระทั่ง เมนูอาหารแพลนต์เบสต์อร่อยๆ จากร้านโปรดของเธอ มาในรูปแบบคลิปวิดีโอ ให้ผู้สนใจติดตามทางโซเชียลเน็ตเวิร์กในหลายช่องทาง ทั้ง เฟสบุ๊ก อินสตาแกรม และยูทูบ
ยุคสมัยนี้ ใครๆ ก็เป็นยูทูบเบอร์ได้ อาจเป็นสายบิวตี้ แฟชั่น กินเที่ยว กีฬา หรืออื่นๆ แต่หนูดีบอกว่า เธอเป็นยูทูบเบอร์ สายชิล ทางช่องยูทูบ Noodee BrainWorks อยากลงอะไรก็ลง ไม่ได้ตีกรอบตัวเองว่าต้องทำ Content แต่สายวิชาการ เธออยากให้ช่องของเธอเป็นแบบ 360 องศาของชีวิตเรา เจออะไรน่าสนใจ ก็ถ่ายคลิปมาแชร์ มาเล่าสู่กันฟัง เพราะถ้าทำแต่เรื่องวิชาการมันก็จะน่าเบื่อมาก
“ในชีวิตจริง....งานหนูดีก็หนักและเครียด ปนน่าเบื่อนิดๆ อยู่แล้ว ขึ้นชื่อว่างาน จะให้สนุกตลอดเวลาได้ไง พอทำช่องเลยเน้นอะไรที่เราชอบ อะไรที่เราสนใจ อาจจะไม่เกี่ยวกับสิ่งที่คนคุ้นชิน แต่จะเกี่ยวกับตัวเรา และถ้าเป็นสิ่งที่เราสนใจตอนนั้น เราก็ถ่ายเก็บไว้ เพราะนอกจากจะเป็น Diary ของเราแล้ว ยังเผื่อมีใครใจเดียวกันอีกด้วย”
สำหรับการรับประทานอาหารแพลนต์เบสต์นั้น เธอบอกว่า “อาหารจากพืช 100% มันอร่อย กินมา 2 ปีกว่า ไม่เคยเบื่อเลย มีให้เลือกกินเป็นร้อยเป็นพันชนิด กินอย่างไรก็แซ่บ แถมทำให้หุ่นแซ่บขึ้นด้วย เพราะอาหารแพลนต์เบสต์ สามารถช่วยให้เราลดน้ำหนัก หรือเพิ่มน้ำหนัก ได้อย่างสุขภาพดี ห่างไกลโรคหัวใจ อัลไซเมอร์ เบาหวานประเภท 2 ที่เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน และห่างไกลมะเร็งบางประเภท
ในส่วนคลิปวิดีโอที่หนูดี ถ่ายทอดวิธีการทำอาหารเพื่อสุขภาพนั้น จะแนะนำเคล็ดลับแบบง่ายๆ เพื่อแชร์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ที่สนใจ บางเมนูก็คาดไม่ถึง แต่หนูดีกลับครีเอทออกมาได้อย่างน่าทึ่ง จากพืชผักผลไม้ในบ้านที่ปลูกเอง ทั้งที่ปลูกใหม่และที่ปลูกมานานแล้ว อย่าง “วุ้นลูกหว้า” ไม่ใส่น้ำตาลของหนูดี ได้มาจากต้นหว้าหลังบ้านของเธอซึ่งออกลูกทุกปี ในช่วงหน้าร้อน ซึ่งแต่ละปีหนูดีก็จะเก็บเอามาทำน้ำลูกหว้าไว้กินเอง แต่ปีนี้พิเศษตรงที่เธอมีเวลาอยู่บ้านเยอะในช่วงโควิด จึงนำผลลูกหว้ามาทำเป็นส่วนผสมของวุ้น ได้วุ้นลูกหว้าสีม่วงเข้มสวยงามมาก แถมผลสดที่เหลือ เธอก็จะใส่ไว้ในถุงซิปล็อกแช่ช่องฟรีซ เพื่อเก็บไว้กินได้ตลอดปี
ด้านอาหารคาว ล่าสุด หนูดีลงมือทำผัดกะเพราหัวปลี เมนูที่เชื่อว่าเป็นความรู้ใหม่ของใครหลายๆ คน ใครเลยจะคิดว่า “หัวปลี” จะนำมาผัดกะเพราได้ หนูดีใช้หัวปลีแทนเนื้อไก่ แถมถ้าจะทำเมนูที่ใช้เนื้อหมูนั้น หนูดีบอกไว้ว่า จะใช้ขนุนอ่อนแทน เซอร์ไพรส์กันไปอีกสำหรับคนที่ไม่เคยทานแพลนต์เบสต์ และเพื่อให้คนที่ไม่ชอบทำอาหาร หรือทำอาหารไม่เป็น ไม่ถอดใจที่จะทานแพลนต์เบสต์ไปซะก่อน หนูดีก็จะไปเสาะแสวงหา ร้านอาหารแพลนต์เบสต์ อร่อยๆ รับประทาน หากร้านไหนถูกปาก เมนูถูกใจ เราก็จะได้เห็นหน้าตาเมนูนั้นๆ ในไอจีของเธอเสมอๆ
ล่าสุด เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2563 เธอได้ร่วมบุญทำพิธีขึ้นร้านใหม่ @goodsoulskitchen ซึ่งเป็นร้านอาหารแพลนต์เบสต์ร้านโปรดของเธอที่เชียงใหม่ และได้มาเปิดสาขา 3 ที่หน้าโรงเรียนวนิษา ซ.สุขุมวิท 26 กรุงเทพฯ เพื่อเป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นก้าวใหม่ที่สวยงาม นำพาอาหารแพลนต์เบสต์ สุดอร่อยมาให้คนกรุง ได้ลิ้มลอง อย่าง เบอร์เกอร์เห็ด มาดามวารี, ข้าวซอยแพลนต์เบสต์, ขนมแพลนต์บอล, กาแฟมะพร้าว ฯลฯ ดูจากภาพแล้วจะเห็นว่า อาหารจากพืช 100% ไม่ได้เศร้า แถมยังอร่อยและอิ่มอีกต่างหาก พร้อมเปิดให้บริการวันที่ 12 สิงหาคมนี้ 10.00 น. เป็นต้นไป
นอกจากความรู้ในเรื่องของการทำขนมและอาหารคาวแล้ว ในเรื่องของเครื่องดื่ม อย่าง คอกาแฟเย็นที่แพ้นมวัว หนูดียังแนะนำทางเลือกดีๆ ด้วยการชงกาแฟเย็นใส่นมพืช เพราะตัวเธอเองก็แพ้นมวัวแบบสะสม คือย่อยได้ไม่สมบูรณ์ ...ท้องอืด ผื่นแพ้ atopic dermatitis มาเยือนทุกครั้ง ที่กินนมวัว หรือกินเวย์ ภายใน 3 วัน หลังจากที่กินไป ส่วนหวานใจของเธอ ดร. โพ-พสุธ รัตนบรรณางกูร หนุ่มวิศวกรเคมี จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ก็แพ้แบบเฉียบพลัน คือ ท้องอืด ท้องเสีย “นมพืช” อย่าง นมอัลมอนด์ จึงเป็นคำตอบสุดท้ายของคนรักกาแฟ กินอย่างไรก็สบายท้อง ดีต่อสุขภาพแล้ว ยังดีกับดิน น้ำ สภาพแวดล้อมโลก และอร่อยไม่แพ้นมวัว หนูดีฟันธงเลยว่า “นมแห่งอนาคตคือนมจากพืช”
อย่างไรก็ตาม หนูดีบอกว่า “การกินเน้นพืชเป็นสิ่งที่ดีมาก แต่เราต้องเข้าใจเปอร์เซ็นต์ของไขมันในพืชแต่ละชนิด เพื่อให้เราบรรลุเป้าหมายสุขภาพตามที่เราต้องการในช่วงนั้นๆ ว่า อยากจะลดหรือเพิ่มน้ำหนักกันแน่”
เมื่อพูดถึงครัวแพลนต์เบสต์ของหนูดีนั้น เธอสรุปเอาไว้ดีมากว่า “ไม่ใช้พวก หมี่กึง กลูเตน โปรตีนเกษตร แต่ใช้อาหารแท้ๆ จากธรรมชาติ พืชครบส่วน Wholefoods แทนพวกอาหารที่มีการแปรรูปเยอะๆ ถ้างงว่าจะกินอะไรดี ก็จะย้อนมองไปในอดีตว่า บรรพบุรุษคนไทยกินอะไร ก็จะกินใกล้เคียงค่ะ ผัก หญ้า หัวเผือก หัวมัน อาหารจากป่า บรรพบุรุษเราน่าจะกินพวกแมลง สัตว์เลื้อยคลาน หอย ปู ปลาจากแม่น้ำด้วย กาลเวลาเปลี่ยน เราปรับเหลือแค่พืช แต่ที่แน่ๆ บรรพบุรุษไทยไม่ได้เน้นกินเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ จะล้มวัวก็เฉพาะงานบุญนานๆ ที ส่วนน้ำมัน พวกเรารับเอามาจากต่างประเทศ และน้ำตาล เมื่อก่อนคนไทยก็ไม่ค่อยกินขนมหวาน กินเฉพาะงานบุญ แถมน้ำตาลมันแพง อาหารคนรวย และคนรวยในอดีต สุขภาพไม่ดีเท่าไหร่
เคยอ่านเจอ “กินคาวไม่กินหวานสันดานไพร่” พอไปนั่งไล่ประวัติศาสตร์มันก็จริงนะคะ น้ำตาลแพง แต่เพื่อนโภชนากรชาวอเมริกันของหนูดีบอก ถ้าคิดอะไรไม่ออก ให้กินอาหารไพร่ไทยในอดีต นั่นล่ะ ดีสุด พอนึกๆ ดูก็จริงค่ะ ไพร่/ทาส กินข้าวแดง ผักหญ้าถูกๆ ริมรั้ว ต้มหรือกินสดๆ ส่วนเจ้านาย กินข้าวขัดขาวจั๊วะ แถมด้วยขนมหวานน้ำตาลเยอะ ดีไม่ดี มีอาหารกะทิแถมไปอีก” หนูดีกล่าวปิดท้ายอย่างอารมณ์ดี
"กิน" - Google News
August 09, 2020 at 12:15PM
https://ift.tt/3ioNsio
“กินแบบไพร่” แล้วสุขภาพดีอย่างไร? แพลนต์เบสต์สายชิล “วนิษา เรซ” มีคำตอบ - ผู้จัดการออนไลน์
"กิน" - Google News
https://ift.tt/2YKxNmY
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/35PjoHG
Bagikan Berita Ini
0 Response to "“กินแบบไพร่” แล้วสุขภาพดีอย่างไร? แพลนต์เบสต์สายชิล “วนิษา เรซ” มีคำตอบ - ผู้จัดการออนไลน์"
Post a Comment