‘ซีพีเอฟ’ ตั้งเป้าลดอาหารส่วนเกิน และขยะอาหาร จากกระบวนการผลิต ให้เหลือ “ศูนย์” ภายในปี 2573 สะท้อนการผลิต และบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ
บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ประกาศนโยบาย การจัดการอาหารสูญเสีย และขยะอาหาร (Food Loss & Food Waste Policy) ในกระบวนการผลิต และห่วงโซ่อุปทาน โดยกำหนดเป้าหมายสำคัญ ในการลดอาหารส่วนเกิน และขยะอาหารเป็นศูนย์ ในปี 2573
ภายใต้นโยบายดังกล่าว ซีพีเอฟ มุ่งมั่นสนับสนุนเป้าหมายความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ข้อ 12 ว่าด้วยเรื่องการมีแบบแผนการผลิตและการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ
ส่วนหนึ่งของเป้าหมายมุ่งลดขยะอาหารของโลก 50% ในระดับค้าปลีก และผู้บริโภคภายในปี 2573 เป้าหมายในส่วนของซีพีเอฟจะลดการสูญเสียอาหาร จากกระบวนการผลิตในห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิต การลดอาหารส่วนเกิน และขยะอาหาร ในกระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทให้เป็นศูนย์ ในปี 2573 เช่นเดียวกัน ทั้งในประเทศไทย และกิจการในต่างประเทศ
นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทตระหนักดีถึงการสูญเสียอาหารและขยะอาหารที่เกิดขึ้น ตลอดห่วงโซ่คุณค่าการผลิตอาหาร ไล่ตั้งแต่ โรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และกระบวนการผลิตอาหาร ไปจนถึง การขนส่ง การจัดเก็บ บรรจุภัณฑ์ และสุดท้ายคือผู้บริโภค
เรื่องเหล่านี้ เป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร และสูญเสียโอกาส ในการเข้าถึงแหล่งอาหารของผู้ด้อยโอกาสในสังคม
ซีพีเอฟ ได้นำแนวทางการรายงาน และการจัดการการสูญเสียอาหาร และขยะอาหารที่พัฒนาโดยองค์กรสากล เช่น องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (World Business Council for Sustainable Developmet : WBCSD) และสถาบันทรัพยากรโลก (World Resources Institute : WRI) มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท เพื่อสร้างคุณค่าต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
“การผลักดันให้เกิดการบริโภคที่ยั่งยืน เพื่อลดการสูญเสียอาหาร ถือเป็นความรับผิดชอบของทุกภาคส่วน ทั้งระดับตัวบุคคล สถาบันและองค์กร เพราะ1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตมาทั่วโลก จะถูกทิ้งทำลายไปโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นการบริหารจัดการอย่างจริงจังตลอดห่วงโซ่อุตสาหกรรมอาหาร ถึงผู้บริโภค จึงเป็นเรื่องความสำคัญอย่างมาก ในการใช้ทรัพยกรของโลกที่มีอย่างจำกัด ให้เกิดมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อโภชนาการและสุขอนามัยที่ดี สร้างการเข้าถึงอาหารและลดการเหลื่อมล้ำ ทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาการจัดการขยะอาหารของโลกที่ต้นเหตุ”
สำหรับแนวทางปฏิบัติของ ซีพีเอฟ เพื่อให้มั่นใจว่า การบริหารจัดการการลดสูญเสียอาหาร อาหารส่วนเกิน และขยะอาหาร สอดคล้องกับหลักการการผลิต และการบริโภคอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก
- การลดการสูญเสียอาหาร อาหารส่วนเกิน และขยะอาหารตั้งแต่ต้นทางการผลิต ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่คุณค่าของการผลิตอาหาร
- สนับสนุนการนำอาหารส่วนเกินและขยะอาหาร (ที่เกิดระหว่างกระบวนการผลิต การขนส่ง ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจร้านอาหาร โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อลดการสูญเสีย และเพิ่มมูลค่า ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
- การสร้างความตระหนักและส่งเสริมด้านการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน เพื่อลดการสูญเสียและอาหารส่วนเกินและขยะอาหาร ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน และเกษตรกร ผ่านการสื่อสาร การให้ความรู้และการรณรงค์
นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ยังมีนโยบายที่สนับสนุนเป้าหมายการลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารหลายด้าน เช่น จัดหาอย่างยั่งยืน และแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจและแนวทางปฏิบัติด้านบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน เป็นต้น โดยสนับสนุนทางเทคนิค และอบรมให้กับคู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน ให้ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยง และลดการสูญเสีย ก่อน และหลัง การเก็บเกี่ยวผลผลิต และการจัดหาวัตถุดิบ
ขณะที่การพัฒนาบรรจุภัณฑ์มุ่งเน้นให้การถนอมและการเก็บรักษาอาหารสามารถทำได้นานขึ้น และใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recyclable)
ซีพีเอฟ ยังมุ่งมั่นบริหารจัดการวัตถุดิบในกระบวนการผลิตอาหารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสนับสนุนให้เกิดโครงการเพิ่มมูลค่า ให้ผลิตภัณฑ์ ที่เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต (Co-product) เพื่อลดปริมาณการสูญเสียในโรงงานของบริษัท ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น การนำชิ้นส่วนเป็ดไปผลิตเป็นลูกชิ้นเป็ด ผลิตภัณฑ์เลือดหมูหลอด ขนเป็ดสำหรับใส่หมอน และเครื่องนอน
นายวุฒิชัย กล่าวต่อไปว่า ในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม และอาหารแบบครบวงจร ตามวิสัยทัศน์ “ครัวโลกยั่งยืน” ซีพีเอฟ มีการขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืน 3 เสาหลัก คือ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่า คงอยู่ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความยั่งยืน ในการผลิต และการบริโภค สร้างความมั่นคงทางอาหาร และลดผลกระทบ ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
“การบริหารจัดการที่ดีตลอดห่วงโซ่การผลิตช่วยให้ ซีพีเอฟ ผลิตและกระจายสินค้าได้เพียงพอกับความต้องไม่เหลือทิ้ง ลดการสูญเสียทรัพยากร ลดปัญหาขยะ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามเป้าหมายการผลิตอาหารมั่นคงและยั่งยืน”
อ่านข่าวเพิ่มเติม
Add Friend Follow"อาหาร" - Google News
August 19, 2020 at 07:03AM
https://ift.tt/2Ye8mJw
'ซีพีเอฟ' ตั้งเป้า 10 ปี ไร้ 'ส่วนเกิน-ขยะ' อาหาร จากกระบวนการผลิต - thebangkokinsight.com
"อาหาร" - Google News
https://ift.tt/3bODzqM
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/35PjoHG
Bagikan Berita Ini
0 Response to "'ซีพีเอฟ' ตั้งเป้า 10 ปี ไร้ 'ส่วนเกิน-ขยะ' อาหาร จากกระบวนการผลิต - thebangkokinsight.com"
Post a Comment