Search

ทำไมยาแก้แพ้กินแล้วง่วง? - โพสต์ทูเดย์ สุขภาพ - โพสต์ทูเดย์

hota.prelol.com

ทำไมยาแก้แพ้กินแล้วง่วง?

วันที่ 08 ก.ค. 2563 เวลา 11:11 น.

รู้จักกับ "ยาแก้แพ้" ยาที่รักษาอาการโรคภูมิแพ้ โรคที่พบบ่อยในคนไทย ข้อควรระวังของการใช้ยา พร้อมไขข้อสงสัย...ทำไมกินแล้วง่วง?

โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่พบบ่อยในคนไทย เกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไปแล้วกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารนั้นมากผิดปกติ ภายหลังเมื่อได้รับสารนั้นเข้าไปอีก ภูมิคุ้มกันดังกล่าวก็จะกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ขึ้น ซึ่งจะเกิดอาการเฉพาะในคนที่แพ้เท่านัน แต่ในคนปกติจะไม่เกิดอาการ

อากาศเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดโรคแพ้อากาศได้อย่างไร?

ผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ จะมีปัญหาเรื่องการปรับตัวของเยื่อบุจมูก โดยจมูกจะไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ไม่ว่าจะเป็นอากาศร้อนหรือเย็น ความชื้นของอากาศ ตลอดจนกลิ่นฉุนหรือสิ่งระคายเคืองต่างๆ จึงมักเรียกกันว่า “โรคแพ้อากาศ” ซึ่งโรคนี้พบได้ทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยจะมีอาการจาม, คัดจมูก, น้ำมูกไหล, คันจมูกจึงมักขยี้จมูกจนเกิดรอยบริเวณสันจมูก, มีเสมหะในคอ, เลือดกำเดาไหลบ่อย, อาจพบอาการคันตา, แสบตา, น้ำมูกไหล, คันหูและหูอื้อได้ เป็นต้น

ยาแก้แพ้แต่ละกลุ่มต่างกันอย่างไร และมีข้อควรระวังอะไรบ้าง?

1. ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มดั้งเดิม (conventional antihistamines)

เป็นยาต้านฮีสตามีนรุ่นแรก ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้เช่น คลอเฟนิรามีน (chlorpheniramine), ไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine), ไดเมนไฮดริเนต (dimenhydrinate), ไฮดรอไซซีน (hydroxyzine), ทริโปรลิดีน (triprolidine), บรอมเฟนิรามีน (brompheniramine), คีโตติเฟน (ketotifen) และ ออกซาโทไมด์ (oxatomide)

ยาในกลุ่มนี้สามารถใช้รักษาอาการเยื่อจมูกอักเสบเนื่องจากภูมิแพ้ ที่มีอาการคัน, จาม, นํ้ามูกไหล และมักให้ร่วมกับยาชนิดอื่นตามอาการที่แสดง เยื่อตาขาวอักเสบเนื่องจากภูมิแพ้ที่เป็นตามฤดูกาล ผื่นลมพิษ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง อาการคันผื่นขึ้นเนื่องจากแมลงกัดต่อย สัมผัสพืชพิษ หรือสัมผัสสารเคมีบางอย่าง บรรเทาอาการ นํ้ามูกไหล จาม คันจมูก นอกจากนี้ยังสามารถบรรเทาอาการเมารถ เมาเรือได้

สำหรับคีโตติเฟน และ ออกซาโทไมด์ สามารถใช้ในการรักษาและป้องกันอาการภูมิแพ้ได้ เนื่องจากยาทั้งสองตัวสามารถทำให้เยื่อหุ้มของเซลล์ที่หลั่งฮีสตามีน และสารก่ออักเสบอื่นๆ ทนทาน จึงเป็นการป้องกันการปลดปล่อยสาร ซึ่งการใช้เพื่อป้องกัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดต้องใช้ยาอย่างสม่ำเสมอก่อนสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ ประมาณ 2 สัปดาห์ 

ยาในกลุ่มนี้สามารถผ่านเข้าสู่สมอง ไปกดระบบประสาทได้ จึงทำให้ผู้ที่ใช้ยามีอาการง่วงซึม แต่บางครั้งในเด็ก คนชรา หรือผู้ที่ได้รับยาขนาดสูง อาจพบอาการกระวนกระวาย อยู่นิ่งไม่ได้ นอนไม่หลับ ส่วนอาการข้างเคียงอื่นๆ เช่นจมูกแห้ง ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ไม่สบายทางเดินอาหาร ปัสสาวะคั่ง นํ้าหนักตัวเพิ่ม

เนื่องจากยากลุ่มนี้ทำให้ง่วงซึม จึงควรระวังการใช้ในผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องจักร ขับรถ และห้ามใช้ร่วมกับยากล่อมประสาท ยานอนหลับ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ระวังการใช้ในเด็กเล็ก เพราะอาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ยาในกลุ่มนี้อาจทำให้อาการความดันในลูกตาผิดปกติและภาวะปัสสาวะคั่งแย่ลงจึงควรระวังการใช้ในผู้ป่วยบางโรคเช่น ความดันในลูกตาสูง ต้อหินบางชนิด และต่อมลูกหมากโต ระวังการใช้ในผู้ที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตรด้วยนํ้านมตนเองเนื่องจากยาสามารถขับออกทางนํ้านมได้ และมียาบางตัวอาจก่อให้ทารกเกิดวิกลรูป (หรือทารกที่คลอดออกมามีความผิดปกติ) ดังนั้นหญิงมีครรภ์ที่ต้องการใช้ยาจึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง

2. ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงนอน (non-sedating antihistamines)

ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มนี้ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยาต้านฮีสตามีนกลุ่มดั้งเดิม แต่ยาในกลุ่มนี้ผ่านเข้าสมองได้น้อยมากจึงทำให้ง่วงซึมน้อยกว่า ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้เช่น เซทิริซีน (cetirizine), เลโวเซทิริซีน (levocetirizine), เฟโซเฟนาดีน (fexofenadine) และ ลอราทาดีน (loratadine) เป็นต้น

ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มนี้สามารถใช้รักษาอาการต่างๆ ได้คล้ายกับกลุ่มดั้งเดิมคือ เยื่อจมูกอักเสบเนื่องจากภูมิแพ้ เยื่อตาขาวอักเสบเนื่องจากภูมิแพ้ที่เป็นตามฤดูกาล ผื่นลมพิษ (โดยเฉพาะ เซทิริซีน ให้ผลดีในการลดผื่นลมพิษแบบเฉียบพลัน และลดอาการคันได้เร็วกว่ายาอื่นในกลุ่มเดียวกัน เนื่องจากยาออกฤทธิ์เร็ว) และผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง แต่อาจให้ผลบรรเทาอาการนํ้ามูกไหล อาการเมารถ เมาเรือ ได้ไม่ดีเท่ากลุ่มดั้งเดิม

อาการง่วงซึม จมูกแห้ง ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า จะพบน้อยกว่ากลุ่มดั้งเดิม ในผู้ที่รับประทานยาอื่นร่วมด้วย ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ เนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาเมื่อรับประทานร่วมกับยาฆ่าเชื้อบางชนิด ระวังการใช้ในผู้ที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตรด้วยนํ้านมตนเองเพราะยังมีข้อมูลน้อย ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต และผู้ที่มีประวัติคลื่นหัวใจผิดปกติ เพราะอาจต้องปรับขนาดยาลดลง และเนื่องจากมียาบางตัวอาจก่อให้ทารกเกิดวิกลรูปได้เช่นเดียวกับกลุ่มดั้งเดิม ดังนั้นหญิงมีครรภ์ที่ต้องการใช้ยาจึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง

สรุป ยาแก้แพ้ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามผลข้างเคียง ได้แก่

1.ชนิดที่ทำให้ง่วง (ยาแก้แพ้รุ่นเดิม) ใช้รักษาอาการเยื่อจมูกอักเสบเนื่องจากภูมิแพ้ ที่มีอาการคัน, จาม, น้ำมูกไหล ผื่นลมพิษ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง อาการคันผื่นขึ้นเนื่องจากแมลงกัดต่อย สัมผัสพืชพิษ หรือสัมผัสสารเคมีบางอย่าง นอกจากนี้ยังสามารถบรรเทาอาการเมารถ เมาเรือได้  ยานี้มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงจึงบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้ชั่วคราว ข้อควรระวังในการใช้ยากลุ่มนี้ มีหลายข้อ เช่น

  • ไม่ควรใช้ยาติดต่อกันนานๆ
  • ไม่ควรใช้ในผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องจักร ขับรถ
  • ห้ามใช้ร่วมกับยากล่อมประสาท ยานอนหลับ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ระวังการใช้ในเด็กเล็ก โดยเฉพาะที่อายุต่ำกว่า 6 ขวบ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • หญิงมีครรภ์ที่ต้องการใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง
  • ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้

2.ชนิดที่ไม่ทำให้ง่วงนอน (ยาแก้แพ้รุ่นใหม่) ยากลุ่มนี้สามารถใช้รักษาอาการต่างๆ ได้คล้ายกับยากลุ่มดั้งเดิม ให้ผลดีกว่าในการลดผื่นลมพิษแบบเฉียบพลัน และลดอาการคันได้เร็วกว่ายาอื่นในกลุ่มเดียวกัน แต่อาจให้ผลบรรเทาอาการน้ำมูกไหล อาการเมารถ เมาเรือได้ไม่ดีเท่ากลุ่มดั้งเดิม

อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดอาการแพ้ สิ่งที่สำคัญที่ต้องทำเป็นอันดับแรก คือสังเกตว่าสิ่งใดที่ทำให้แพ้ และหลีกเลี่ยงเมื่อต้องเจอตัวการที่ทำให้แพ้ เลือกใช้ยาแก้แพ้อย่างถูกต้อง หมั่นออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และถ้าต้องการจะใช้ยาเพื่อที่ต้องการจะให้นอนหลับนั้น แต่ในทางที่ถูกต้องนั้น ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเมื่อต้องการใช้ยาจะเป็นการดีที่สุด

Let's block ads! (Why?)



"กิน" - Google News
July 08, 2020 at 11:51AM
https://ift.tt/2Dlx1Eh

ทำไมยาแก้แพ้กินแล้วง่วง? - โพสต์ทูเดย์ สุขภาพ - โพสต์ทูเดย์
"กิน" - Google News
https://ift.tt/2YKxNmY
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/35PjoHG

Bagikan Berita Ini

0 Response to "ทำไมยาแก้แพ้กินแล้วง่วง? - โพสต์ทูเดย์ สุขภาพ - โพสต์ทูเดย์"

Post a Comment

Powered by Blogger.