หลายหน่วยงานระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การการค้าโลก (WTO) วิเคราะห์ตรงกันว่า วิกฤติอาหารโลก อาจเกิดขึ้นได้ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ซึ่งเป็นหนึ่งในผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ทั่วโลก
สิ่งที่น่าขบคิดสำหรับประเด็นนี้คือ ไทยจะเจอกับวิกฤติขาดแคลนอาหารหรือไม่
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จากการที่ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความมั่นคงด้านอาหาร (อันดับที่ 52 จาก 113 ประเทศทั่วโลก: Global Food Security Index 2019) และเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารที่สำคัญของโลกที่มีความหลากหลายของอาหารสูง โอกาสที่จะเกิดวิกฤตอาหารในไทยคงเป็นไปได้น้อย
ทั้งนี้ เนื่องจากสินค้ากลุ่มอาหารยังมีผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ภาวะภัยแล้งในปีนี้ก็น่าจะดีขึ้น เนื่องจากการเข้าสู่หน้าฝนทำให้ในหลายพื้นที่มีฝนตกและบรรเทาสถานการณ์ความร้อนและความแห้งแล้งไปได้บ้าง แม้ว่าจะต้องเจอกับภาวะราคาสินค้าวัตถุดิบอาหาร (สินค้าเกษตร) ที่ยังมีแนวโน้มจะผันผวน
หากมองถึงความท้าทายภายใต้วิกฤติที่เกิดขึ้น โอกาสของไทยในการส่งออกสินค้าในกลุ่มอาหาร จะพบว่า ตลาดส่งออกอาหารหลักส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 แทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะจีน สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วน 18.9%, 12.5% และ 11.1% ของการส่งออกสินค้าในกลุ่มอาหารทั้งหมดของไทยไปตลาดโลก
สำหรับความต้องการนำเข้า สินค้าอาหารในประเทศดังกล่าว มักอยู่ในกลุ่มสินค้าที่ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับความต้องการบริโภคในประเทศ และกลุ่มสินค้าที่สามารถสำรองไว้บริโภคได้ในระยะยาว ราคาไม่สูงสอดรับกับกำลังซื้อผู้บริโภคที่อ่อนแรงในขณะนี้
ดังนั้น สินค้ากลุ่มอาหารของไทยที่คาดว่าจะได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์ดังกล่าว ได้แก่
1) ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง
ความต้องการในตลาดสำคัญอย่าง จีน ยังคงพุ่งสูง แต่การผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ จนต้องเร่งออกการรับรองโรงงานผลิตไก่จากไทยในปีนี้ เพื่อให้สามารถนำเข้ามาบริโภคในประเทศมากขึ้น ในขณะที่คู่แข่งสำคัญอย่าง บราซิล ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้เท่าที่ควร เพราะสถานการณ์ โควิด-19 ในประเทศที่ยังน่าเป็นห่วง
2) ทูน่ากระป๋อง
ตลาดหลักอย่าง สหรัฐฯ ยังมีความต้องการนำเข้าทูน่ากระป๋องจากไทยท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เปราะบาง สะท้อนจากจำนวนผู้ที่ตกงานลงทะเบียนเข้าขอรับการช่วยเหลือทางการเงินพุ่งสูงถึง 20.5 ล้านคน ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่า กำลังซื้อผู้บริโภคยังอ่อนแรง สินค้าที่มีราคาถูกโดยเปรียบเทียบและยังสามารถเก็บไว้ได้นานอย่าง ทูน่ากระป๋อง จึงน่าจะตอบสนองความต้องการของตลาดได้
อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าดังกล่าว ไปป้อนตลาดที่อาจจะเสี่ยงกับวิกฤติขาดแคลนอาหารในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 น่าจะไม่ส่งผลต่อราคาสินค้าในประเทศให้ปรับสูงขึ้น เพราะการบริโภคในประเทศยังต้องใช้เวลาอีกพอสมควรกว่าจะกลับสู่ภาวะปกติหรือก่อน โควิด -19 โดยเฉพาะความต้องการจากธุรกิจปลายทาง อาทิ ร้านอาหารและการท่องเที่ยว
ทั้งนี้ สะท้อนได้จากราคาสินค้าในประเทศที่ชะลอลง เช่น ราคาไก่เนื้อ ปัจจุบันอยู่ที่ 30 บาท/กก. ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 37 บาท/กก. เป็นต้น
หากมองในช่วงที่เหลือของปี 2563 ด้วยผลของ โควิด-19 ที่ยังคงมีอยู่และกระทบต่อกำลังซื้อผู้บริโภค โดยเฉพาะในกลุ่มตลาดส่งออกหลักที่สถานการณ์ยังไม่กลับมาฟื้นตัวอย่างเต็มที่ อาจส่งผลให้การส่งออกอาหารและเครื่องดื่มของไทยยังให้ภาพที่หดตัว
เบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การส่งออกอาหารและเครื่องดื่มปี 2563 น่าจะมีมูลค่า 22,965-24,175 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัวในกรอบ -5.0% ถึง 0.0% ในขณะที่ปี 2564 การส่งออกอาหารและเครื่องดื่ม อาจจะมีภาพที่ดีขึ้นเล็กน้อย ตามการฟื้นตัวของคู่ค้าสำคัญ โดยคาดว่าน่าจะมีมูลค่า 23,100-24,040 ล้านดอลลาร์ฯ หรือปรับตัวในกรอบ -2.0% ถึง 2.0%
อ่านข่าวเพิ่มเติม
Add Friend Follow"อาหาร" - Google News
June 17, 2020 at 04:56PM
https://ift.tt/30PtxDD
อาหารไทย พลิกวิกฤติโควิด สร้างโอกาส ส่งออกตลาดโลก - thebangkokinsight.com
"อาหาร" - Google News
https://ift.tt/3bODzqM
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/35PjoHG
Bagikan Berita Ini
0 Response to "อาหารไทย พลิกวิกฤติโควิด สร้างโอกาส ส่งออกตลาดโลก - thebangkokinsight.com"
Post a Comment