การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐอเมริกา ส่งผลกระทบอย่างมากต่อซัพพลายเชนอาหารและพืชผลการเกษตรภายในประเทศ เนื่องจากภายใต้การบังคับใช้มาตรการปิดเมือง หรือมาตรการ “ล็อกดาวน์” เป็นเวลาหลายสัปดาห์เพื่อควบคุมพื้นที่การแพร่ระบาดของโรคนั้น ทำให้มีการปิดชั่วคราวสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร โรงแรม สถานบันเทิง โรงเรียน หรือแม้แต่เรือสำราญ ซึ่งเป็นปลายทางของห่วงโซ่อาหาร
สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ลูกค้าผลผลิตการเกษตรของบรรดาเกษตรกรสหรัฐลดลงไปโดยเฉลี่ยถึง 40% ฟาร์มบางแห่งเมื่อไม่สามารถส่งผลผลิตให้ร้านอาหาร โรงแรม หรือโรงเรียน อย่างที่เคยทำในภาวะปกติ ก็มีผลผลิตส่วนเกินจำนวนมากค้างคาอยู่ที่ฟาร์ม ยกตัวอย่างเช่น กะหล่ำปลีที่เคยปลูกส่งให้ร้านเคเอฟซีนำไปทำโคลด์สลอว์ แต่เมื่อร้านจำเป็นต้องปิดชั่วคราวตามนโยบายของภาครัฐเพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เป็นเวลานานนับเดือน (ยกเว้นบริการดิลิเวอรี) กะหล่ำปลีที่ปลูกไว้เป็นจำนวนมากจึงไม่มีช่องทางระบาย และเกษตรกรก็จำเป็นต้องนำมันฝังกลบกลายเป็นปุ๋ยบำรุงดินไป ซึ่งหากมองในแง่ที่ว่า นี่คืออาหารที่ต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เป็นความสูญเสียทั้งในแง่ทรัพยากร ทุนทรัพย์ และแรงงาน ที่สำคัญคือท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ที่เกิดขึ้น มีตัวเลขคาดการณ์ว่า ปัญหาการขาดแคลนอาหารอาจจะทวีความรุนแรงขึ้นเป็น 2 เท่า
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวและนำอาหารส่วนเกินเหล่านี้มาเข้าสู่กระบวนการบริหารจัดการเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ ทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชนไม่หวังผลกำไรในสหรัฐจึงได้ผุดโครงการ “ธนาคารอาหาร” ขึ้นมาหลายโครงการทั่วประเทศ ซึ่งขนาดของโครงการและรายละเอียดอาจแตกต่างกันไป บางโครงการก็เป็นการรับบริจาคผัก-ผลไม้ หรือนมสดจากเกษตรกรโดยตรง มาใส่ไว้ตามสถานีหรือจุดแจกฟรี คล้ายๆ “ตู้ปันสุข” ของไทย แต่ถ้าเป็นระดับรัฐบาล ก็มีโครงการ Farm to Family โดยแต่ละรัฐก็จะมีงบประมาณมาช่วยเหลือเกษตรกรในการเก็บเกี่ยว บรรจุ และขนส่งพืชผลการเกษตรส่วนเกินเหล่านั้นมายัง “ธนาคารอาหาร” ในพื้นที่เพื่อกระจายแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ยากไร้ หรือบางรัฐอาจมีงบประมาณช่วยเหลือเกษตรกรในการซื้อเมล็ดพันธุ์และเครื่องมือ ซึ่งเมื่อมีผลผลิตออกมาแล้ว พวกเขาต้องแบ่งส่วนหนึ่งมอบฟรีให้แก่บ้านพักคนชราในพื้นที่ เป็นต้น
โครงการเหล่านี้ไม่เพียงเป็นการหาทางออกที่ดีให้แก่เกษตรกรในการบริหารจัดการผลผลิตส่วนเกินให้เกิดประโยชน์ ไม่ต้องนำไปทิ้งหรือทำลาย แต่ยังช่วยให้ประชาชนที่เดือดร้อนท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งอาหารฟรี แบ่งเบาภาระในชีวิตไปได้ในระดับหนึ่ง
นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 หน้า 24 ฉบับที่ 3,580 วันที่ 4 - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2563
"อาหาร" - Google News
June 05, 2020 at 11:15AM
https://ift.tt/371AClC
สหรัฐชวนเกษตรกรนำผลผลิตส่วนเกินเข้า 'ธนาคารอาหาร' - ฐานเศรษฐกิจ
"อาหาร" - Google News
https://ift.tt/3bODzqM
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/35PjoHG
Bagikan Berita Ini
0 Response to "สหรัฐชวนเกษตรกรนำผลผลิตส่วนเกินเข้า 'ธนาคารอาหาร' - ฐานเศรษฐกิจ"
Post a Comment