UN ประชุมออนไลน์ระดมความคิดแก้ปัญหาความมั่นคงด้านอาหาร และความลำบากให้กับเกษตรกรทั่วโลก จากภัยพิบัติโควิด-19
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19 ได้สร้างความลำบากให้กับเกษตรกรทั่วโลกจำนวนมาก ทั้งยังทำลายความมั่นคงทางด้านอาหารของผู้คนทั้งในเมืองและชนบท ด้วยเหตุนี้ผู้เชี่ยวชาญขององค์การสหประชาชาติ (United Nations – UN) จึงจัดการประชุมออนไลน์เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา เพื่อระดมความคิดป้องกันไม่ให้ปัญหาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเลวร้ายไปกว่านี้ อันสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) หัวข้อที่ 2 Zero Hunger (ขจัดความหิวโหย)
โควิดกระทบแรงงานเกษตรข้ามชาติ
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (The U.N. Food and Agricultural Organization – FAO) คาดการณ์ว่า จำนวนผู้ที่ขาดสารอาหารจะเพิ่มขึ้นถึง 132 ล้านคนในปี 2563 ในขณะที่จำนวนเด็กที่ขาดสารอาหารอย่างรุนแรงจะเพิ่มขึ้น 6.7 พันล้านคนทั่วโลกเนื่องจากการระบาด
“จอง-จิน คิม” ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก กล่าวว่า โลกกำลังเผชิญกับ 2 ภัยพิบัติสำคัญ คือ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และความหิวโหย
“เราต้องยอมรับว่าโลกเปลี่ยนไปแล้ว และต้องหาวิธีการใหม่ ๆ ในการรับมือกับปัญหาและก้าวไปข้างหน้าเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารอย่างยั่งยืน”
การดิสรับที่เกิดขึ้นจากการการระบาดของโควิด-19 สร้างข้อจำกัดในการทำธุรกิจ และการเดินทาง ส่งผลต่อการเกษตรในประเทศใช้แรงงานข้ามชาติ ทั้งยังส่งผลต่อธุรกิจขายปศุสัตว์และอุปกรณ์ทางการเกษตรด้วย
ทั่วโลกขาดความมั่นคงด้านอาหาร
จากรายงานของ FAO มีการระบุว่า กำลังผลักดันให้ภาคเกษตรกรแต่ละประเทศปรับใช้เครื่องมือไฮเทคโนโลยีทำการเกษตรเร็วขึ้น เช่น โดรนและแอพสมาร์ทโฟนเพื่อตรวจสอบพืชผล ศัตรูพืช และสภาพฟาร์ม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบอาหารให้มีความยืดหยุ่น และลดความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันให้ประชาคมนานาชาติรวมมือกันกำจัดปัญหาความมั่นคงทางอาหารสำหรับเกษตรกรรายย่อยในประเทศยากจน ให้สิ้นไปภายในสิ้นทศวรรษนี้
ปัญหาความมั่นคงทางอาหารในปัจจุบันแสดงให้เห็นในหลายมิติ เช่น 1 ใน 4 ของเด็ก 1 ล้านคนในประเทศเยเมนกำลังทุกข์ทรมานจากการขาดสารอาหารอย่างรุนแรงและเสียชีวิตโดยไม่ได้รับการรักษา และบางส่วนของทวีปแอฟริกามีผู้คนเกือบ 5 ล้านคนถูกคุกคามด้วยความอดอยากเนื่องจากการระบาดของตั๊กแตน
แม้แต่กระทั่งประเทศร่ำรวยอย่างสหรัฐอเมริกา ส่อแววเรื่องความท้าทายด้านอาหาร เพราะธนาคารอาหารในประเทศมีการต่อแถวยาวเหยียดของคนจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการว่างงานหลายสิบล้านคน ในขณะที่ประเทศไทยที่เคยมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นตัวช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต แต่การปิดพรมแดนและเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ที่ถูกยกเลิกส่งผลกระทบต่อหลายอุตสาหกรรม รวมถึงการเกษตรที่เป็นหน่วยงานป้อนวัตถุดิบให้กับโรงแรมและร้านอาหาร
วิธีอยู่รอดของเกษตรกร
ในงานประชุมออนไลน์ ผู้เชี่ยวชาญขององค์การสหประชาชาติ ได้แนะนำวิธีการบรรเทาปัญหา และยกตัวอย่างวิธีการแก้ปัญหาของประเทศต่าง ๆ ดังนี้
ผู้เชี่ยวชาญขององค์การสหประชาชาติแนะนำให้ประเทศต่าง ๆ ให้เงินกู้แก่เกษตรกรเพื่อช่วยหลีกเลี่ยงการขายปศุสัตว์และทรัพย์สินอื่น ๆ และกล่าวถึงข้อสังเกตของหมู่บ้านชาวประมงในจังหวัดภูเก็ต ประเทศไทยว่า มีการใช้วิธีบาร์เทอร์ คือการแลกเปลี่ยนอาหารทะเลเป็นข้าวกับชาวนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ
ส่วนชาวประมงบางส่วนในประเทศอินโดนีเซียที่ไม่สามารถส่งออกอาหารทะเล ได้เปลี่ยนไปจับปลาที่มีราคาถูกลง เพื่อที่จะสามารถขายให้คนในท้องถิ่นได้ และในหลายประเทศเกษตรกรหันมาใช้อีคอมเมิร์ซและข้อมูลดิจิทัล เพื่อปรับเปลี่ยนการปลูกให้ตรงต่อความต้องการของลูกค้ามากขึ้น เช่น ประเทศจีนสร้างแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ช่วยจับคู่อุปสงค์และอุปทานเกี่ยวกับผลิตผลทางการเกษตร
นับว่าโควิด-19 ทำให้เกษตรกรต้องเผชิญกับความยากลำบากและกระทบกับความมั่นคงด้านอาหารให้เลวร้ายลง ซึ่งหลายประเทศต้องเร่งหาวิธีแก้ไข
"อาหาร" - Google News
September 03, 2020 at 01:55PM
https://ift.tt/3jEPsUg
UN กังวล โควิด-19 ทำลายความมั่นคงทางอาหารทั่วโลก - ประชาชาติธุรกิจ
"อาหาร" - Google News
https://ift.tt/3bODzqM
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/35PjoHG
Bagikan Berita Ini
0 Response to "UN กังวล โควิด-19 ทำลายความมั่นคงทางอาหารทั่วโลก - ประชาชาติธุรกิจ"
Post a Comment