Search

คอลัมน์ผู้หญิง - อาหารกับสัตว์เลี้ยง ตอนจบ (อาหารกับโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วน) - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

hota.prelol.com

เรื่องราวเกี่ยวกับอาหารสัตว์เลี้ยงในเดือนนี้ เป็นความปรารถนาดีจาก โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครับ สำหรับวันนี้ เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารที่มีผลต่อสุนัขและแมวที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วนกันครับ   

@โรคเบาหวานในสัตว์เลี้ยง เหมือนกับในคนหรือไม่  


เบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักที่มีหน้าที่ดึงน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานภายในร่างกาย เมื่อร่างกายขาดฮอร์โมนนี้ ก็จะทำให้ร่างกายดึงน้ำตาลไปใช้ไม่ได้ ทำให้น้ำตาลที่ล่องลอยอยู่ในกระแสเลือดมีปริมาณสูง แต่ในขณะเดียวกันร่างกายก็ขาดสารอาหารและพลังงาน ทำให้เห็นว่าน้ำหนักตัวลดลง ทั้งๆ ที่กินได้เยอะขึ้น และมีอาหารหิวตลอดเวลา ดังนั้นเราจึงต้องให้การรักษาเพื่อทดแทนฮอร์โมนอินซูลินที่ร่างกายขาด โดยการฉีดอินซูลินสังเคราะห์ให้สัตว์ เพื่อให้สัตว์สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้นั่นเอง  

@สัตว์เลี้ยงที่เป็นโรคเบาหวาน สามารถกินอาหารอะไรได้บ้าง  

ปัญหาในการควบคุมโรคเบาหวาน ก็คือปัญหาในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ให้สูงเกินไป และอยู่ในช่วงที่อินซูลินสามารถทำงาน และร่างกายสามารถนำน้ำตาลเหล่านั้นไปใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยต้องมีการติดตามผลการรักษาโดยการทำกราฟของระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังจากการฉีดอินซูลิน เพื่อประเมินว่าขนาดของอินซูลินที่เหมาะสมที่จะฉีดให้เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเป็นเท่าไร และรักษาโรคเบาหวานได้ดีเพียงไร   

ในการฉีดอินซูลินนั้น มักจะฉีดหลังกินอาหาร วันละ 2 ครั้ง ห่างกัน 12 ชั่วโมง โดยชนิดและปริมาณของอาหารที่ให้ ควรเป็นชนิดเดียวกันทุกครั้ง เพราะอาหารแต่ละชนิดนั้น หลังจากที่กินแล้ว จะทำให้การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดที่แตกต่างกัน ดังนั้นขณะทำการรักษา หากเราเปลี่ยนชนิดอาหารอยู่เรื่อยๆ ก็จะทำให้เราไม่สามารถบอกได้ว่า ปริมาณอินซูลินที่ฉีดอยู่ในแต่ละวันนั้นจะสามารถควบคุมน้ำตาลได้เหมาะสมหรือไม่   

นอกจากนี้ อาหารที่ให้สัตว์ป่วยกินนั้น ควรเป็นอาหารที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ เช่น อาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ธัญพืช เมล็ดพืช เผือกและมัน เป็นต้น เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการย่อย และปลดปล่อยน้ำตาลออกมาในกระแสเลือดช้าและนานกว่าปกติ  อีกทั้งอาหารที่ให้ควรมีปริมาณโปรตีน และเส้นใยอาหาร (fiber) สูง เพื่อให้สัตว์อิ่มได้นานขึ้นด้วย   

ในการรักษาโรคเบหวานในทางสัตวแพทย์นั้น มีอาหารเฉพาะโรคเบาหวานที่ใช้เพื่อเป็นโภชนบำบัดร่วมกับการรักษาทางอายุรกรรมอยู่ แต่หากสัตว์เลี้ยงไม่ยอมกินหรือกินไม่ได้ ก็สามารถขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์ประจำแผนกโรคเบาหวาน ช่วยคำนวณสูตรอาหารปรุงเองที่เหมาะสมกับสัตว์ได้ เพื่อให้สัตว์ป่วยเบาหวานได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน แต่สารอาหารที่ได้อาจไม่สมบูรณ์และสมดุลเท่ากับอาหารสำเร็จรูป   

อย่างไรก็ตาม อาหารแบบปรุงเองนั้น เจ้าของต้องมีความเคร่งครัดในการปรุงตามสูตรที่สัตวแพทย์คิดคำนวณให้ โดยชั่งน้ำหนักของส่วนผสมในอาหารให้ตรงตามสูตร ไม่เช่นนั้นอาจไม่ประสบผลสำเร็จในการรักษา ส่วนพวกขนมขบเคี้ยวทุกอย่างจำเป็นต้องงดอย่างเคร่งครัด เนื่องจากจะทำให้เราไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้  

@เมื่อสัตว์เลี้ยงเป็นโรคหัวใจ จำเป็นต้องกินยาไปตลอดชีวิตใช่หรือไม่  

เนื่องจากโรคหัวใจในสัตว์นั้น ส่วนใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของหัวใจ  ดังนั้น “การกินยา” เป็นแค่ “การชะลอความเสื่อมที่เกิดขึ้น” โดยช่วยลดโหลดการทำงานของหัวใจ และในขณะเดียวกันก็ช่วยให้หัวใจบีบตัวเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ดีขึ้น ดังนั้นการป้อนยาให้สัตว์เลี้ยงกินและการพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะแม้ว่าจะได้รับยา แต่ความเสื่อมก็ยังดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนถึงช่วงที่ยาในระดับเดิมไม่สามารถคุมอาการต่อไปได้ ก็ต้องมีการปรับเพิ่มขนาดยาขึ้นเพื่อให้หัวใจสามารถทำงานได้เหมือนเดิม  ดังนั้นจึงเรียกได้ว่า ในรายของโรคหัวใจนั้น “ห้ามขาดยาเด็ดขาด” และมีความจำเป็นต้อง “กินยาไปตลอดชีวิต” ครับ นอกจากนี้อาหารที่ให้สำหรับสัตว์ป่วยที่เป็นโรคหัวใจก็มีความจำเป็นที่จะต้องลดปริมาณแร่ธาตุบางตัวลงเพื่อไม่ให้หัวใจทำงานหนัก ดังนั้นบางรายจึงต้องมีการกินอาหารสำหรับโรคหัวใจควบคู่การรักษาไปด้วยครับ  

@ทำไมทำหมันแล้วสัตว์เลี้ยงจึงอ้วนขึ้น    

ประเด็นแรกคือ สัตว์ที่ทำหมันแล้วนั้น จะมีอัตราการเผาผลาญลดลง รวมถึงบางตัวมีผลทำให้ความอยากอาหารมากขึ้นด้วย จึงทำให้สัตว์อ้วนง่ายกว่าปกติ   

ในการเลือกชนิดของอาหารนั้น ไม่ได้มีหลักการในการเลือกเป็นพิเศษ แต่หัวใจหลักของการจัดการเรื่องอาหารนั้น อยู่ที่ “ปริมาณพลังงาน” ที่สัตว์ได้รับต่อวันมากกว่า ดังนั้นประเด็นหลักจะอยู่ที่ ปริมาณอาหารที่เจ้าของให้สัตว์ หากเจ้าของมีความกังวลเรื่องความอ้วนของสัตว์เลี้ยง การดูปริมาณพลังงานอาหารที่ข้างถุงอาหารอย่างเดียว อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับสัตว์เลี้ยง ดังนั้นหากรู้สึกว่าเริ่มมีปัญหาเรื่องอ้วน ควรปรึกษา “โภชนสัตวแพทย์” เพื่อให้คำนวณปริมาณอาหารที่เหมาะสมให้กับสัตว์ และทำการปรับปริมาณเมื่อน้ำหนักตัวลดลงครับ  

ส่วนประเด็น “อาหารสูตรควบคุมน้ำหนัก” (หรือที่เรียกว่า “อาหารลดความอ้วน”) ที่บางคนบอกว่า “กินแล้วทำไมน้ำหนักไม่ลดลง” นั้นก็คือ แม้ว่าจะให้กินอาหารลดความอ้วน แต่หากกินในปริมาณที่ไม่เหมาะสม สัตว์ก็ได้รับพลังงานเกินที่ควรได้รับ ในที่สุดก็คือ “อ้วนเหมือนเดิม” ไม่เปลี่ยนแปลง   

อาหารลดความอ้วน มีข้อดีคือ เป็นอาหารที่มีพลังงานต่ำ มีโปรตีน และไฟเบอร์สูง เพื่อให้อยู่ท้อง ทำให้แม้ว่าสัตว์จะบริโภคในปริมาณน้อย ก็สามารถทำให้อิ่มได้นาน หากต้องการลดความอ้วนควรปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อให้คำนวณปริมาณอาหารที่เหมาะสมต่อวันให้สัตว์ รวมถึงติดตามผลของการลดน้ำหนักได้อย่างถูกต้องด้วยครับ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร   

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์    

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Let's block ads! (Why?)



"อาหาร" - Google News
September 27, 2020 at 02:00AM
https://ift.tt/3kPdXhX

คอลัมน์ผู้หญิง - อาหารกับสัตว์เลี้ยง ตอนจบ (อาหารกับโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วน) - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"อาหาร" - Google News
https://ift.tt/3bODzqM
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/35PjoHG

Bagikan Berita Ini

0 Response to "คอลัมน์ผู้หญิง - อาหารกับสัตว์เลี้ยง ตอนจบ (อาหารกับโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วน) - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"

Post a Comment

Powered by Blogger.