Search

ส่องท็อปไฟว์กลุ่มอาหาร ใครใช้กำลังผลิตสูงสุด - ฐานเศรษฐกิจ

hota.prelol.com

ส่องท็อปไฟว์กลุ่มอาหารรับอานิสงส์โควิดใช้กำลังผลิตสูงสุด ข้าวโพดหวาน ไก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส น้ำมันพืชนำทีม อาหารสำเร็จรูปลุ้นส่งออกปี 63 เฉียด 6 แสนล้าน

สถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลายในตลาดหลัก ๆ ของไทยทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป อินเดีย ญี่ปุ่น ส่งผลกระทบภาคส่งออกไทย มีหลายสินค้าที่ได้รับผลกระทบส่งออกยังติดลบมาก เช่น รถยนต์และชิ้นส่วน อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เม็ดพลาสติก  เป็นต้น แต่ก็มีสินค้าที่ได้รับอานิสงส์แนวโน้มส่งออกได้เพิ่มขึ้นเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสินค้าอาหารที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีพ

นายวิศิษฐ์  ลิ้มลือชา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การส่งออกสินค้าอาหารภาพรวมปี 2563 กลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา 3 องค์กรที่เกี่ยวข้องได้แก่ สถาบันอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้คาดการณ์ส่งออกทั้งปีที่มูลค่า 1.02 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.8%

ข้อมูลล่าสุดช่วง 7 เดือนแรกส่งออกแล้ว 652,414 ล้านบาท ยังติดลบ 1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น การส่งออกสินค้าเกษตรที่ใช้เป็นอาหารที่ยังไม่แปรรูป มูลค่า 321,662 ล้านบาท ขยายตัว 0% และอาหารแปรรูป 330,752 ล้านบาท ยังติดลบ 1% แต่ทิศทางการส่งออกสินค้าอาหารช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีขึ้น จากสถานการณ์โควิดในหลายประเทศเริ่มคลี่คลาย และคลายล็อกดาวน์ส่งผลบวกต่อการนำเข้าสินค้าอาหารเพิ่ม

                               วิศิษฐ์  ลิ้มลือชา


ปัจจุบันสินค้าอาหารที่ได้อานิสงส์การเติบโตจากโควิดได้แก่ ข้าวโพดหวานกระป๋อง เครื่องปรุงรส ทูน่ากระป๋อง นม ชา กาแฟ เนื้อสัตว์แช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป ปลากระป๋อง ผลไม้กระป๋อง ผักผลไม้แช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป สับปะรดกระป๋อง และอาหารสัตว์เลี้ยง โดยการใช้กำลังผลิตเฉลี่ยต่ำสุด-สูงสุดอยู่ที่ 15-80%  จากตลาดในประเทศและส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยที่ใช้กำลังผลิตสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ ข้าวโพดหวานกระป๋อง เนื้อสัตว์ ปศุสัตว์แช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป (ส่วนใหญ่เป็นสินค้าไก่) บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส และน้ำมันพืช (กราฟิกประกอบ)

ส่วนที่ยังใช้กำลังผลิตน้อย เช่น สับปะรดกระป๋อง จากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบที่กระทบจากภัยแล้งก่อนหน้านี้ รวมถึงเสียเปรียบคู่แข่งขันด้านภาษีนำเข้าในบางตลาด เช่นยุโรป ที่สินค้าไทยถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) เสียภาษีนำเข้า 18.5% ขณะที่คู่แข่ง อินโดนีเซียยังได้จีเอสพีเสียภาษีนำเข้า 15% และฟิลิปปินส์ได้จีเอสพีพลัสภาษี 0% ส่วนสินค้าน้ำตาลที่ใช้กำลังผลิตลดลง ผลจากการบริโภคน้ำตาลทั่วโลกชะลอตัวลง

“ปัจจัยบวกต่อการส่งออกสินค้าอาหารของไทย เวลานี้ เช่น ความเชื่อมั่นของคู่ค้าเรื่องความปลอดภัยอาหารที่ไทยผลิต มีซัพพลายวัตถุดิบที่แข็งแรง แม้จะประสบปัญหาภัยแล้งแต่ภาพรวมยังสามารถหาวัตถุดิบผลิตส่งมอบได้ ส่วนปัจจัยลบ อาทิ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ายังไม่ฟื้น หลายประเทศยังมีมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ยอดส่งออกในส่วนของตลาดฟู้ดเซอร์วิสป้อนร้านอาหาร ภัตตาคารยังไม่ฟื้นตัว รวมถึงธุรกิจ MICE ยังไม่สามารถดำเนินการได้ปกติ เงินบาทกลับมาแข็งค่า วัตถุดิบและเมล็ดพันธุ์พืชราคาแพง ส่งผลต่อต้นทุนกรผลิต เป็นต้น”

อย่างไรก็ดีในส่วนของอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารแปรรูปในปีนี้หากขยายตัวได้ที่ 3% (หรือมีมูลค่าประมาณ 5.9 แสนล้านบาท) ทางสมาคมฯก็พอใจแล้ว

นายสุพันธุ์  มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า สถานการณ์โควิด มีทั้งกลุ่มได้รับผลกระทบเชิงบวกและลบ โดยเชิงบวกเช่น ถุงมือยางที่ใช้กำลังผลิตเต็ม 100% ขณะที่กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนใช้อยู่ที่ 40-50% เป็นต้น หากสถานการณ์ทั่วโลกคลี่คลายการใช้กำลังผลิตจะกลับมาขยายตัวดีขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่งออกข้าว7เดือนวูบ เหตุราคาสูงลิ่วแซงคู่แข่ง


Let's block ads! (Why?)



"อาหาร" - Google News
September 09, 2020 at 01:46PM
https://ift.tt/2ZiTYjm

ส่องท็อปไฟว์กลุ่มอาหาร ใครใช้กำลังผลิตสูงสุด - ฐานเศรษฐกิจ
"อาหาร" - Google News
https://ift.tt/3bODzqM
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/35PjoHG

Bagikan Berita Ini

0 Response to "ส่องท็อปไฟว์กลุ่มอาหาร ใครใช้กำลังผลิตสูงสุด - ฐานเศรษฐกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.