Search

คอลัมน์ผู้หญิง - อาหารกับสัตว์เลี้ยง (ตอนที่ 2 : อาหารกับโรคไต) - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

hota.prelol.com

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เราก็ได้รับความรู้เกี่ยวกับอาหารที่ไม่ควรให้สัตว์เลี้ยงกันไปแล้วนะครับ สัปดาห์นี้เราก็ยังมีข้อมูลดีๆ จากโรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเสนอกันต่อ ในวันนี้เราจะมาคุยกันถึงอาหารที่มีผลต่อสุนัขและแมวที่เป็นโรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคเบาหวาน และโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะกันครับ 

@โรคไตในสัตว์เลี้ยง เกิดจากอะไร รักษาหายได้หรือไม่ 


 โรคไตในสัตว์เลี้ยงนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการติดเชื้อ ภาวะการขาดน้ำ ปัญหาโลหิตจาง การได้รับสารพิษ เกิดความเสื่อมของไต และการอุดตันทางเดินปัสสาวะเป็นต้น ซึ่งการรักษาได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค ระยะการเกิดโรคและความรุนแรง รวมถึงการฟื้นตัวของสัตว์ภายหลังจากที่กำจัดสาเหตุนั้นๆ ออกไปแล้ว นอกจากนี้อาหารที่ให้เป็นประจำ รวมถึงระหว่างการรักษาก็มีความสำคัญก็การหายของโรคด้วย 

@ อาหารเม็ด เค็มจริงหรือไม่ 

อาหารเม็ดสำหรับสัตว์ที่วางขายกันมีหลายเกรด ชนิดที่มีคุณภาพดีที่มีการจดทะเบียนนั้น จะต้องผ่านการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารมาแล้วระดับหนึ่ง ดังนั้นการจะมีระดับโซเดียมค่อนข้างสมดุล นอกจากนี้อาหารเม็ดคุณภาพดีนั้น มักผ่านการคำนวณ เพื่อให้มีสารอาหารที่ครบถ้วน และสมดุล ทั้งสารอาหารและแร่ธาตุต่างๆ อย่างเหมาะสมกับสุนัขในแต่ละช่วงอายุและแต่ละสายพันธุ์ด้วย  

อาหารเม็ดที่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์แล้วนั้น มักไม่มีรสชาติเค็มเกินไปอย่างที่หลายๆ ท่านกังวล ซึ่งการให้สัตว์เลี้ยงกินอาหารที่ปรุงเอง แล้วมีการปรุงรสชาติด้วยเกลือแกง ซีอิ๊วขาว น้ำปลา ซอสน้ำมันหอยนั้นอาจทำให้สัตว์ได้รับปริมาณโซเดียมที่เกินได้มากกว่าการให้อาหารสำเร็จรูปเสียอีกครับ 

ในความเป็นจริงแล้ว “ความอร่อย” ของอาหารสุนัขและแมว “ไม่ได้อยู่ที่ความเค็ม” (เหมือนที่คนเรารู้สึก) แต่อยู่ที่ “กลิ่น” มากกว่า ดังนั้นการใส่เกลือ (ที่มีโซเดียม) ลงไปในขั้นตอนการผลิต จึงเป็นการใส่เพื่อตอบโจทย์ของความต้องการด้านแร่ธาตุเป็นหลักมากกว่า ซึ่งหากเจ้าของดมกลิ่นอาหารสัตว์ อาจเข้าใจว่าอาหารเค็ม เนื่องจากมีกลิ่นที่ค่อนข้าง “คาว” ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดความน่ากินสำหรับสุนัขและแมว แต่หากลองชิมแล้ว (ผมเองก็เคยชิม) จะทราบเลยว่า จริงๆ แล้วอาหารสุนัขและแมวดีๆ ส่วนมากนั้นไม่มีความเค็มเลย (กลับรู้สึกจืดๆ แต่มีกลิ่นเสียมากกว่า) 

@ สัตว์เลี้ยงป่วยเป็นโรคไต จำเป็นต้องกินอาหารสูตรโรคไตหรือไม่ 

เนื่องจากในสภาวะปกติ  ไตจะทำหน้าที่เป็นตัวกรองของเสียออกจากเลือดในร่างกายเพื่อกำจัดของเสียให้เลือดร่างกายได้รับเลือดที่บริสุทธิ์  

ไตมีหน่วยย่อยเล็กๆ ที่เรียกว่า “หน่วยไต” โดยเลือดทั้งหมดนั้น จะผ่านหน่วยไต เมื่อสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคไตจะมีหน่วยไตที่ทำหน้าที่กรองบางส่วนที่เสียไป ส่งผลให้หน่วยไตส่วนที่เหลือต้องรองรับเลือดและหน้าที่กรองของเสียทดแทน ทำให้เกิดการทำงานที่หนักขึ้น มีงานวิจัยระบุว่าหากบริโภคโปรตีนมาก ก็จะทำให้เลือดไปที่ไตมากขึ้น ส่งผลให้ไตทำงานหนักขึ้นด้วย ดังนั้นการจำกัดปริมาณโปรตีนในอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อลดการทำงานของไตได้อีกทางหนึ่ง 

เรื่องราวเกี่ยวกับอาหารของสัตว์เลี้ยงยังมีต่อครับ สัปดาห์หน้า เรามาคุยกันต่อถึงอาหารที่มีผลต่อโรคอื่นๆ กันครับ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Let's block ads! (Why?)



"อาหาร" - Google News
September 13, 2020 at 02:00AM
https://ift.tt/2FmH0uc

คอลัมน์ผู้หญิง - อาหารกับสัตว์เลี้ยง (ตอนที่ 2 : อาหารกับโรคไต) - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"อาหาร" - Google News
https://ift.tt/3bODzqM
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/35PjoHG

Bagikan Berita Ini

0 Response to "คอลัมน์ผู้หญิง - อาหารกับสัตว์เลี้ยง (ตอนที่ 2 : อาหารกับโรคไต) - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"

Post a Comment

Powered by Blogger.