Search

เปลี่ยนใจลูกกินยาก/ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ - ผู้จัดการออนไลน์

hota.prelol.com


คุณแม่หลายต่อหลายคนถือคติที่ว่าเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่เด็กๆในบ้านสนใจกับกิจกรรมต่างๆรอบตัวมากกว่ามื้ออาหารจนแทบนับจำนวนคำที่กินได้ จึงรู้สึกกลัวว่าลูกจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจนทำให้ไม่สบายหรือโตไม่สมวัย ซึ่งเป็นสารพัดความกังวลใจของคนเป็นแม่

การที่คุณแม่จะเปลี่ยนใจลูกที่กินยากโดยตั้งเป้าหมายให้หันมากินมากได้อย่างใจนั้นอาจไม่ใช่แนวทางที่ต้องการจะแนะนำสักเท่าไร เนื่องจากการที่เด็กถูกมองว่ากินยากซึ่งในที่นี้หมายถึงกินอาหารน้อยเกินไป ไม่อยากกินหรือเลือกกินนั้นจำเป็นต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยประกอบกัน ก่อนที่จะสรุปว่าเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขและหาทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารของเด็กให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นต่อไป

สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ การกินยากนี้เป็นปัจจัยด้านพฤติกรรมมากกว่าที่จะเกิดจากอาการเจ็บป่วยหรือมีความผิดปกติทางร่างกายจนทำให้ไม่อยากอาหาร หากพบว่าเป็นสาเหตุอย่างหลังก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาทางการแพทย์อย่างใกล้ชิด แต่หากเป็นเรื่องของพฤติกรรมการกินโดยเฉพาะในเด็กเล็กช่วงวัยประมาณ 1-6 ขวบที่พยายามเป็นตัวของตัวเอง ตราบใดที่มีพัฒนาการที่ดี เจริญเติบโตเหมาะสมกับช่วงวัยทั้งน้ำหนักและส่วนสูง มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงสามารถเล่นและพักผ่อนได้เป็นปกติแล้วล่ะก็คุณแม่ก็อย่าเพิ่งใจร้อนไป

การที่เด็กมีสุขภาพร่างกายที่ดีก็แสดงว่าได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอแล้ว คุณแม่ต้องทำความเข้าใจและปรับทัศนคติของตัวเองเสียใหม่ ปริมาณอาหารที่ให้ลูกกินในแต่ละมื้อนั้นควรสัมพันธ์กับกิจกรรมและน้ำหนักตัว การที่เด็กกินน้อยกว่าและอิ่มเร็วกว่าผู้ใหญ่จึงเป็นเรื่องปกติ เพียงแต่ต้องดูแลเรื่องคุณค่าสารอาหารให้ครบถ้วนเป็นสำคัญ บ่อยครั้งที่ใส่ความหวังดีไปคะยั้นคะยอ หลอกล่อหรือบังคับให้เด็กกินมากตามที่คุณแม่ต้องการ (ไม่ใช่ที่เด็กต้องการ) มักทำให้บรรยากาศบนโต๊ะอาหารตึงเครียดและเกิดการต่อต้านโดยไม่จำเป็น

แต่หากคุณแม่ประเมินแล้วเห็นว่าลูกกินยากจริงๆ อยากให้กินเพิ่มขึ้นอีกสักนิด หรือต้องการฝึกพฤติกรรมบนโต๊ะให้เด็กอาหารอีกสักหน่อย ก็อาจลองทำตาม 5 แนวทางต่อไปนี้ดูเผื่อว่าจะสามารถเปลี่ยนใจลูกกินยากได้

1.ปรับความห่างระหว่างมื้อ – โดยทั่วไปเมื่อเด็กเริ่มโตจนทานอาหารหยาบได้ดี คุณแม่อยากให้ลูกโตเร็วๆจึงมักเพิ่มมื้ออาหารเป็นมื้อหลัก มื้อรอง เสริมขนมนมเนยสารพัดจนไม่ทันหิวกันเลยทีเดียว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทานอาหารมื้อหลักได้น้อยกว่าที่คุณแม่คาดหวัง ถ้าไม่ต้องการให้ลูกกินยากในมื้อหลักก็ต้องกะเวลาให้รู้สึกหิวในเวลานั้นพอดี ซึ่งทำได้โดยลดการกินจุบจิบให้น้อยลงและทิ้งช่วงห่างระหว่างมื้อให้สัมพันธ์กับความหิว

2.ใช้วิธีค่อยๆเพิ่มปริมาณ – เป็นปกติของคนเราที่เมื่อเห็นอาหารพูนจานและต้องกินจนอิ่มมากเกินก็มักรู้สึกไม่ดีกับอาหารจานนั้นจนทำให้ไม่อยากกินอีก ทางที่ดีควรค่อยๆตักใส่จานทีละนิดเพื่อให้อยากเติมเพิ่มเรื่อยๆก็จะทำให้กินได้ง่ายและได้ปริมาณรวมเพิ่มขึ้น วิธีนี้ยังใช้ได้กับกรณีที่เด็กบางคนชอบกินอาหารแบบเดิมๆและปฏิเสธที่จะเปลี่ยนเมนูใหม่ โดยการเติมอาหารที่กินประจำสลับกับเมนูใหม่ทีละนิดเพื่อสร้างความคุ้นเคย

3.หาสิ่งดึงดูดความสนใจ – คุณแม่รู้ดีว่าเป็นเรื่องยากมากที่จะทำให้ลูกจดจ่อกับการกินอาหารตรงหน้าไปได้ตลอด เพราะเด็กมักห่วงเล่นหรือมีอะไรที่น่าสนใจให้ทำมากกว่ากินอาหาร ในทางปฏิบัติการเปิดการ์ตูนดูไปด้วยกินไปด้วยจะได้นั่งติดเก้าอี้นานขึ้นอาจไม่ใช่เรื่องผิดกติกาแต่ก็ไม่แนะนำให้ทำบ่อยนัก อาจสลับกับการตกแต่งอาหารให้มีสีสันหน้าตาน่ากิน หรือทำเมนูที่มากับพร้อมเรื่องเล่าที่ชวนให้ลองชิมก็พอจะดึงดูดใจได้บ้าง

4.ให้ลูกมีส่วนร่วมทำอาหาร – ในหลายครอบครัวมักมองว่าการทำอาหารไม่ใช่เรื่องของเด็ก อาจเพราะกลัวว่าจะเกิดอันตรายหรือไม่ก็กลัวว่าอาหารจะเสร็จไม่ทันเวลา แต่ถ้าเป้าหมายคือต้องการให้ลูกกินอาหารได้ง่ายขึ้น การมีส่วนร่วมในการเลือกเมนู ช่วยเดินเลือกซื้อของ เตรียมวัตถุดิบ หรือแม้แต่ได้ปลูกพืชผักสวนครัวในบ้าน ไปจนถึงช่วยทำอาหารในส่วนที่ทำได้นั้นสามารถช่วยให้เด็กอยากกินอาหารฝีมือตัวเองมากขึ้นได้อย่างคาดไม่ถึง

5.สร้างบรรยากาศการกินที่ดี – สิ่งหนึ่งที่คุณแม่ต้องทำความเข้าใจคือ เด็กไม่ชอบถูกบังคับให้ทำอะไรก็ตามที่ไม่อยากทำและจะยิ่งต่อต้านหรือหลบเลี่ยง ตรงกันข้าม หากสร้างบรรยากาศบนโต๊ะอาหารที่ดีมีสมาชิกพร้อมหน้าพร้อมตา กินอาหารพร้อมกับใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ไม่ใช้เวลาเร่งรีบรวดเร็วหรืออ้อยอิ่งชักช้าจนเกินไป จะยิ่งดึงดูดความสนใจให้เด็กต้องการร่วมโต๊ะและกินอาหารได้ง่ายขึ้นเพื่อรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว

การดูแลการกินของเด็กก็เหมือนกับเรื่องการเรียนรู้ การเล่นและพักผ่อนคือต้องอาศัยความเข้าใจมากกว่าความคาดหวัง โดยธรรมชาติไม่มีใครทนความหิวได้นานและคุณแม่สามารถใช้ความเข้าใจนี้วางแผนจัดช่วงเวลาอาหารแต่ละมื้อให้สอดคล้องกับความหิวของลูก และเพิ่มคุณภาพของมื้ออาหารด้วยวิธีการตามที่กล่าวมาก็จะสามารถช่วยเปลี่ยนใจลูกกินยากเป็นเด็กกินง่ายได้ไม่ยาก

Let's block ads! (Why?)



"อาหาร" - Google News
May 31, 2020 at 08:00AM
https://ift.tt/2XIVUjD

เปลี่ยนใจลูกกินยาก/ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ - ผู้จัดการออนไลน์
"อาหาร" - Google News
https://ift.tt/3bODzqM
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/35PjoHG

Bagikan Berita Ini

0 Response to "เปลี่ยนใจลูกกินยาก/ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ - ผู้จัดการออนไลน์"

Post a Comment

Powered by Blogger.